HIGH-TECH MATERIALS The Elements of Rado
นอกจากชื่อ Rado (ราโด) จะสิอถึงความเป็นนาฬิกาสวิสชั้นดีที่วางใจได้ในความเที่ยงตรง และสร้างความสง่างามสมภาคภูมิให้แก่ผู้สวมใส่ด้วยดีไซน์หรูเรียบแล้ว ชื่อ Rado ยังสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทนทานของเรือนเวลาที่ผลิตตัวเรือนด้วยวัสดุไฮเทคชนิดต่างๆ ซึ่ง Rado มุ่งมั่น และทุ่มเทวิจัยพัฒนามาก่อนหน้าที่กระแสนิยมเรื่องวัสดุศาสตร์จะปะทุขึ้นในโลกแห่งเครื่องบอกเวลานานนับสิบปี
ปัจจุบัน มีผู้ผลิตนาฬิกาหลายรายกำลังเจริญรอยตาม Rado ด้วยการพัฒนาวัสดุใหม่ๆ ขึ้นใช้ในการผลิตตัวเรือน แต่สำหรับบันทึกประวัติศาสตร์วงการนาฬิกาแล้ว Rado ไม่เพียงเป็นผู้สร้างกระแส แต่เหนือระดับกว่านั้นด้วยการเป็นผู้ปฎิวัติการผลิตเรือนนาฬิกด้วยวัสดุไฮเทคนานาชยนิด โดยยังคงมุ่งมั่นที่จะสรรหาทางเลือกใหม่ๆต่อไป
HI-TECH HARDMETAL 1400-1700 Vickers
Hi-Tech Hardmetal (ไฮเทค ฮารด์เมทัล) หรือ ”โลหะแข็ง” เป็นวัสดุที่คิดค้นขึ้นจากการผสมธาตุหลายชนิดเข้าด้วยกัน แล้วนำไปผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนจนเกิดวัสดุชนิดใหม่ที่มีความแข็งมาก โลหะแข็งนี้เกิดจากผสมทังสเตนหรือไทเทเนียมคาร์ไบด์เข้ากับโคบอลต์ ก่อนจะนำไปกดขึ้นรูปและเผาที่อุณหภูมิ 1,300-1,500 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงนำไปขัดแต่งด้วยเครื่องขัดที่ทำขึ้นจากเพชร ทำให้ชิ้นงานที่ได้มีลักษณะเป็นมันวาว มีความแข็งมาก ป้องกันรอยขูดขีดได้เกือบทุกชนิด โดย Rado (ราโด) เป็นผู้นำในการใช้ตัวเรือนประเภทนี้
ตัวเรือนที่ผลิตจาก “Hi-Tech Hardmetal” นี้เปิดตัวเป็นครั้งแรกที่โรงงาน “Schlup & Co” (ชลูป์ เอต์ โค) ในเมืองเลงนาว (Lengnau) สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโรงงานรับผลิตนาฬิกาประเภทต่างๆ ตามใบสั่งของลูกค้า เริ่มต้นผลิตแบรนด์ของตนเองและใช้ชื่อว่า “Rado” ใน ค.ศ. 1957 หลังจากการค้นคว้าและพัฒนาที่ยาวนาน Rado ผลิตตัวเรือนที่ทางแบรด์ตั้งชื่อให้ว่า “Hard metal” เป็นผลสำเร็จในปี 1962
แต่เดิมโลหะสมชนิดนี้คิดค้นขึ้นสำหรับใช้เป็นวัสดุฐานเพื่อผลิตเครื่องมือในกลุ่มของดอกสว่านสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมหนัก เพราะดอกสว่านที่ผลิตจาก “Hardmetal” จะสามารถเจาะลงไปในเปลือกโลกโดยไม่สร้างความเสียหายใดๆ ให้กับเครื่องมือเลย ด้วยความข็งแกร่งของวัสดุดังกล่าวทำให้บรรดาวิศวกรในโรงงาน Rado คิดที่จะนำมาผลิตเป็นวัสดุตัวเรือนซึ่งจะอำนวยความสะดวกสบายให้ผู้ใช้ในแง่ของการไม่ต้องระวังรอยขีดข่วนหรือสึกกร่อนอันเนื่องมาจากการกระทบกระทั่งในการใช้งานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุยอดนิยมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสเตนเลสสตีล ทอง หรือ ไทเทเนียม
นี่คือจุดเริ่มต้นของ DiaStar (ไดสตาร์) ตัวเรือนทรงไข่อันเลื่องชิ่อด้านความสามารถในการกันรอยขีดข่วนเป็นรายแรกของวงการมากระทั่งปัจจุบัน
ส่วนประกอบหลักของ “Hardmetal” คือผงไทเทเนียมและทังสเตนคาร์ไบด์ซึ่งนำไปผ่านกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน โดยมีขั้นตอนหลักๆ คือนำผงทังสเตนคารไบด์ซึ่งไปใส่ในแบบด้วยการฉีดเข้าไปในพิมพ์ (Injection Molding) และกดด้วยแรงกดที่ 1,000 บาร์ เพื่อให้อยู่ในรูปทรงที่ต้องการ ก่อนจะนำไปเผาในเตาเผาโลหะที่อุณหภูมิ 1,450 องศาเซลเซียส และผ่านขั้นตอนอีกหลายขั้นตอนจนถึงกรรมวิธีสุดท้ายคือการขัดเงาด้วยผงเพชรเพื่อให้เกิดความเงางามและสุกใสที่สุด แล้วจึงนำไปเคลือบด้วยสีทองหรือหรือสีดำตามต้องการ
ที่มา นิตยสาร
เรื่องโดย OmniscientBoy